วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา


โรงเรียนบ้านโคกเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
ปีการศึกษา 2552
ชื่อ – สกุล ผู้เสนอนวัตกรรม : นายณัฐกิตติ์ ทุมภา
โรงเรียนบ้านโคกเมือง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
E-mail : toompa2320@gmail.com
-------------------------------------------------------------------------------------
1. ชื่อนวัตกรรม : รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. นวัตกรรมด้าน : การจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมสนองนโยบาย สพฐ. ด้าน
( / ) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ( ) ด้านคุณธรรมนำความรู้
(ระบุสาระ) สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา
( ) การบริหารจัดการสนับสนุนการขยายโอกาส ( ) การสร้างความเข้มแข็งแก่ สพท.
และ/หรือโรงเรียน
( ) การมีส่วนร่วมของ Steak holder ( ) การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่
พิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้
( ) อื่น ๆ ระบุ...........................................................................
3. ความเป็นนวัตกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อที่มีคุณลักษณะสำคัญที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ ซึ่งเกิดจาก บุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ ความรู้พื้นฐาน ความถนัดที่ต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนสามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะและเพิ่มเติมความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนของตนให้กับผู้อื่นได้ ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอบงในเวลา และสถานที่ซึ่งผู้เรียนสะดวก ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น (Motivated)ที่จะเรียนและสนุกสนานไปกับการเรียน ตามแนวคิดของการเรียนรู้ในปัจจุบันที่ว่า “Learning is fun” ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2542 : 9 - 12)การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) นั้น เป็นการนำเอาสื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการเรียนการสอน เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะทำให้การเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์กันได้ในระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียน การสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ได้อาศัยแนวคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการออกแบบโปรแกรมจะเริ่มต้นจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองโดยการออกแบบโปรแกรมจะเริ่มต้นจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป (กิดานันท์ มลิทอง. 2536 : 187)
หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2533) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เป็นกลุ่มที่ว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของชีวิตและสังคม ฉะนั้น ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนจึงเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชีวิตของตนเองและสังคมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น มวลประสบการณ์ดังกล่าวได้มาจากปัญหาของชีวิตจริง จากปัญหากลายมาเป็นสาระสำคัญของหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต อันประกอบด้วยประสบการณ์ที่ว่าด้วยกระบวนการแก้ปัญหาชีวิต และปวงชนและสังคม ดังจุดประสงค์ที่กล่าวถึงเรื่องของสุขภาพคือ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น การปฏิบัติตนให้ถูกต้อง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม จุดประสงค์อีประการหนึ่งคือ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานและมีความสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ กล่าวคือ ให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นและมีประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จึงมีเรื่องราว และเนื้อหาที่กว้างมาก และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชานี้ การจัดสภาพการเรียนให้ผู้เรียนได้คิดได้แก้ปัญหา และได้เผชิญกับสถานการณ์จำลองอันจะประสบในชีวิตจริง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสงบสุขตามเอกัตภาพ
เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยที่ 1 เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ลักษณะของเนื้อหามีความเป็นรูปธรรม แต่ในการจัดการเรียนการสอนไม่สามารถที่จะนำของจริงมาให้นักเรียนดูได้ เนื้อหาจึงกลายเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องอาศัยการจินตนาการเข้าช่วย ซับซ้อน หรืออันตราบที่จะไปศึกษาในการใช้ของจริง การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นไปในลักษณะของการบรรยายเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจบทเรียนเท่าที่ควร ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูผู้สอน จึงยากแก่เด็กวัยปฐมศึกษาที่จะเข้าใจ เพราระดับการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กวัยประถมศึกษาตามทฤษฎีของเพียเจท์ (Piaget) อยู่ในขั้นที่ 3 คือ การคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (สุนทร จันทรตรี. 2530 : 353 – 354) ดังนั้นการที่จะให้การเรียนการสอนก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้น ครูจะต้องหาวิธีการที่จะทำให้บทเรียนที่เป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้เหมาะกับนักเรียนวัยประถมศึกษา (สุนทร จันตรี 2528 : 5)
การจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์นั้น เป็นกระบวนการเรียนการสอนตามเอกัตบุคคลเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในเชิงสติปัญญา ทักษะ เจตคติ โดยเปลี่ยนจากครูเป็นศูนย์กลาง มาสู่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนการสอนและมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ใหม่ของการเรียนการสอน จากครูกับผู้เรียนเป็นสู้ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับสื่อหรือคอมพิวเตอร์นั่นเอง ในด้านประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอนประโยชน์ต่อผู้เรียนคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียนทั้งในด้านเวลา สถานที่ เป็นลักษณะติวเตอร์ (Tutor) ส่วนตัวของผู้เรียนสามารถประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยอัตโนมัติ และผู้เรียนได้เรียนแบบการฝึกปฏิบัติ (Active Learning) มีการป้อนกลับทันที มีสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่าย ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น ส่วนประโยชน์ต่อผู้สอน คือ เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้สอนใช้กระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเน้อหาที่เข้าใจยาก ผู้สอนมีเวลามากขึ้นไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน และทำให้ผู้สอนปรับปรุงตัวเองให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นทันต่อการเปลี่ยนของเหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น (วสันต์ อติศัพท์. 2538 : 75 – 90)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถอธิบายเนื้อหาแสดงภาพประกอบ แสดงการเคลื่อนที่ของภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจ และได้เห็นถึงส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถที่จะให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองอย่างอิสระ และให้ผลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนรู้ของตนเอง ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เห็นก็คือ สามารถช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนได้โดยการออกแบบโปรแกรมให้มีภาพและเสียง และสามารถให้โต้ตอบกับผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว (อรพรรณ พรสีมา. 2530 : 88)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อการเรียนการสอนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นต่อการนำไปใช้ที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ คือ สามารถนำไปใช้ช่วยครูสอน หรือสอนแทนครู ได้อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่อง นับตั้งแต่การส่งเสริมการรับรู้ การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลความก้าวหน้าจากการใช้ทบเรียน จากคุณสมบัติต่างๆ ของบทเรียนคอมพิวเตอร์และการใช้สถานการณ์จำลองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยคาดหวังว่า การจัดการเรียนการสอนจะสอดคล้องกับหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความสนสนใจในทบเรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน ซึ่งจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ครูผู้สอนได้ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เรียนถึงแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
4.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรมไปใช้
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น
3. เพื่อศึกษาพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ที่ได้พัฒนาขึ้น

4.2 วิธีการ
การสร้างเครื่องมือในการศึกษา ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร แผนการสอน คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
1.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาแต่ละตอน ในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.3 กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อกำหนดวิธีเขียน และขั้นตอนการเรียน การวัด และการประเมินผลในเนื้อหาของแต่ละตอน
1.4 กำหนดเนื้อหาให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละข้อ
1.5 ออกแบบเนื้อหาและการสอนให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเสร็จแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และให้ข้อเสนอแนะ เสร็จแล้วนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไขในด้านการนำเสนอเนื้อหา
1.6 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบย่อย ตามวัตถุประสงค์การเรียน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การใช้ภาษา จากนั้นนำเนื้อหาไปเรียบเรียงลงในสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
1.7 นำสตอรี่บอร์ด (Storyboard) ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและเนื้อหา ด้านการวัดผล และด้านสื่อและโปรแกรมทำการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม
1.8 ปรับปรุงสตอรี่บอร์ด (Storyboard) ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ นำไปสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้โปรแกรม Author ware Version 7 และนำ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ด้าน ประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น จำนวน 15 ข้ออีกครั้ง เสร็จแล้วนำคำแนะนำมาปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนมีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.20- 5.00 และมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.67 มีระดับความเหมาะสมในระดับดีมาก
1.9 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและได้รับการแก้ไขปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน เพื่อหาประสิทธิภาพ โดยมีลำดับดังนี้
1.9.1 ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) ทดลองกับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกเมือง จำนวน 6 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ปานกลาง และสูง โดยกำหนดตามผลการเรียน เฉลี่ย 5 ภาคเรียน ซึ่งผลการเรียนต่ำ หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 ผลการเรียนปานกลาง หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย ระหว่าง 2.00-2.99 และผลการเรียนสูง หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ซึ่งไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มาก่อนและไม่ใช่กลุ่มทดลอง ได้ทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้เวลา 8 คาบ ๆ ละ 50 นาที เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยวิธีสังเกตการณ์ของผู้ศึกษาค้นคว้า พบว่าส่วนที่ควรปรับปรุง มีดังนี้
1) บทเรียนมีคำแนะนำไม่ชัดเจน ทำให้นักเรียนบางคนไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป จึงมีผลทำให้เสียเวลา จึงนำไปปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มคำแนะนำและเสียงบรรยายให้นักเรียนได้เข้าใจชัดเจนขึ้น
2) แบบทดสอบหลังเรียน เมื่อนักเรียนคลิกเลือกคำตอบแล้ว บทเรียนจะไปสู่ข้อต่อไปช้ามาก ทำให้เกิดความรำคาญไม่ทันใจ จึงปรับปรุงโดยการลดเวลาในการรอให้สั้นลง
1.9.2 ทดลองกลุ่มย่อย (Small Group Testing) นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกเมือง จำนวน 9 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ปานกลาง และสูง จำนวนเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่เคยเรียนเนื้อหาบทเรียนนี้มาก่อน เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปทดลองจริง ใช้เวลา 8 คาบ ๆ ละ 50 นาที พบว่า
1) เสียงบรรยายบางช่วงไม่ชัดเจน จึงแก้ไขโดยการอัดเสียงบรรยายใหม่
2) การฟังเสียงบรรยายบางเนื้อหาไม่เข้าใจอยากฟังอีกครั้ง จึงปรับปรุงโดยการเพิ่มปุ่มเลือกฟังเสียงบรรยายซ้ำ นักเรียนสามารถคลิกปุ่มเพื่อฟังได้ตามต้องการ
2. การสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ศึกษาเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ได้ดังนี้
1) อธิบายและบอกความสำคัญของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้
2) บอกชื่ออวัยวะภายในร่างกาย และหน้าที่ของอวัยวะภายในได้
3) ยกตัวอย่างการทำงานของร่างกาย ที่ทำให้เราเจริญเติบโตได้
4) บอกถึงพัฒนาการของร่างเรา ได้
5) อธิบายและบอกความหมายของวัยรุ่นได้
6) บอกถึงความจำเป็นในการรักษาดูแลฟันของเราได้

2.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา ความคิดรวบยอด และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในเนื้อเรื่องที่จะใช้สร้างแบบทดสอบ

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ


เข้าสู่เว็ย ศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี้ครับ

กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 1 ยินดีต้อนรับนักเรียนเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หากนักเรียนโรงเรียนต่างๆที่สนใจเข้าศึกษาตามระบบ E-learning ติดต่อครูผู้สอนโดยตรงที่หน้าเว็บ ครับ

ศูนย์วัดความสามารถภาษาอังกฤษ

เข้าสู่เว็บ ของศูนย์วัดความสามารถภาษาอังกฤษ
ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 เพื่อส่งสริม ให้บุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทางภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อมุ่งสร้าง ให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลาง ด้านต่างๆ เช่น ศูนย์กลาง ด้านการท่องเที่ยว การคมนาคม การเงิน การศึกษา ฯลฯ"

ศูนย์การเรียนคณิตศาสตร์

เข้าสู่ เว็บไซ ศูนย์การเรียนคณิตศาสตร์ กรุณาคลิกที่นี้


Related Searches:
Timbaland Reason Refill
Mixtape
Beats for Rap
Lil Wayne
Big Mike MixTapes
Lil Instrumentals
The Game Mixtape Songs
50 Cent Beats
Kanye West MixTapes
Free Hip Hop Mix Tapes

เรียนร้องเพลงกับครูแอร์


เข้าสู่เว็บ เรียนร้องเพลงกับครูแอร์ กรุณาคิลิกที่นี้ครับ

เป้ยโต้รูปหลุด แค่ภาพเฝ้าไข้ที่ร.พ.


ดาราสาวดาวร้าย เป้ย ปานวาด เหมมณี ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวรูปหลุดกับบิ๊ก หนุ่มรู้ใจ ที่หลายคนดูแล้วเหมือนอยู่ในห้องนอน ว่า มันไม่ใช่ภาพหลุดแต่มันเป็นภาพที่ขึ้นในบีบี ตอนนั้นเราอยู่ในโรงพยาบาล มันเป็นกิจวัตร เหมือนเป็นภาพส่วนตัวค่ะ แต่โดนก๊อปออกไป



“มันเป็นรูปตอนที่เฝ้าไข้บิ๊กค่ะ ไม่ใช่ชุดนอนนะคะ เป็นชุดเสื้อยืดธรรมดา คือถ้าไม่ไปทำงานก็ไม่แต่หน้าจะดูโทรมนิดหนึ่ง ส่วนบิ๊กก็อยู่ในชุดโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ค่ะ ตอนนั้นบิ๊กเขาป่วยเป็นทอนซิลอักเสบค่ะ จริงๆ มันก็ไม่ใช่ภาพน่าเกลียดอะไร แล้วชุดที่บิ๊กใส่มันเหมือนชุดนอนด้วย แต่เป็นชุดของโรงพยาบาล ใครไม่เชื่อไปดูยูนิฟอร์มของเซ็นต์หลุยส์ก็ได้ค่ะ”



ถามว่า กลัวจะมีภาพหลุดออกมาอีกไหม เป้ยกล่าวว่า “มันไม่มีแล้ว อย่างรูปที่ออกมามันก็ไม่ใช่รูปหลุด มันเป็นรูปที่เราขึ้นแล้วมีคนคร็อปแล้วเอาไปลงอีกทีหนึ่ง ฉะนั้นจะโทษใครไม่ได้นอกจากตัวเรา”



ถามถึงเรื่องที่บิ๊กบอกว่า ตอนนี้ทั้งเขาและเป้ยงานเยอะมากไม่ค่อยมีเวลาให้กัน “ใช่ค่ะ งานยุ่งทั้งคู่เลย ก็ไม่เป็นไรค่ะ ตอนนี้ก็เซย์ฮัลโหลบีบีกันตลอดเวลา ว่างก็เจอกัน ยังเหมือนเดิมค่ะ ความรักก็ยังโอเคเหมือนเดิม”



เมื่อถามถึงข้อสังเกตว่า เป้ยมีข่าวกับใครก็ทำให้อีกฝ่ายงานเยอะด้วย ดาราสาวกล่าวว่า “เขายุ่งๆ ของเขาอยู่แล้ว มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา มันก็มีผลบ้าง แต่ว่ามันจะมาในทางที่ดีหรือไม่ดีมันก็ต้องแลกกันค่ะ คุณก็ต้องยอมโดนด่านิดหนึ่ง ซึ่งมันก็สร้างความลำบากให้เขาเหมือนกัน ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง เขาก็ปรับตัวเขา ไม่ใช่ว่า มีนิสัยติสต์แล้วจะปรับตัวไม่ได้เขาก็พยายามปรับตัว เพราะว่าเขาต้องทำงานในวงการบันเทิง คือมันต้องแลกค่ะ ส่วนเป้ยบอกว่าให้ใจเย็นๆ ทำใจกับเรื่องบางเรื่องไม่ต้องไปคิดมาก เขาเข้าใจก็

บทเรียนคอมพิวเตอร์



บทเรียนคอมพิวเตอร์ กรุณาคลิกที่นี้ครับ


WAP สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนประกอบย่อยดังนี้

WAE (Wireless Aplication Environment)
WAE คือแอพพลิเคชันทั่วไปที่มีพื้นฐานมาจาก WWW และเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สาย (MobileTelephony?) หน้าที่ของ WAE คือทำให้ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถสร้าง แอพพลิเคชัน และบริการที่สามารถใช้กับระบบไร้สายอันหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ WAE ประกอบด้วยบราวเซอร์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่อไปนี้
- Wireless Mark Language(WML)เป็นภาษาลักษณะเดียวกับ HTML แต่ถูกดัดแปลงให้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย
- WMLScript คือภาษาสคริปต์ขนาดเล็กมีลักษณะการทำงานเหมือน JavaScript?
- Wireless Telephony Application(WTA,WTAI)คือบริการทางโทรศัพท์และอินเทอร์เฟซในการเขียนโปรแกรม
- รูปแบบข้อมูล (Content Format)ซึ่งเป็นรูปแบบข้อมูลที่มีการกำหนดไว้เป็นหมวดหมู่รวมไปถึงภาพ, เรคคอร์ดสมุดโทรศัพท์ และปฏิทิน


WSP (Wireless Session Protocol)
WSP ทำหน้าที่จัดเตรียมชั้นแอพพลิเคชันของ WAP ด้วยอินเทอร์เฟซมาตรฐาน 2 แบบ คือบริการที่ต้องมีการเชื่อมต่อกันก่อนซึ่งทำงานบน WTP และบริการที่ไม่ต้องมีการเชื่อมต่อ (connectionless) ซึ่งทำงานบน WDP โปรโตคอลบนชั้น WSP ถูกออกแบบมาใช้สำหรับเน็ตเวิร์คที่มีแบนด์วิดธ์ต่ำ โดยมีบริการที่ใช้สำหรับแอพพลิเคชันบราวเซอร์ที่เรียกว่า WSP/B เพื่อทำให้ WAP proxy สามารถเชื่อมต่อระหว่างไคลเอนต์ WSP/B กับเซิร์ฟเวอร์ HTTP มาตรฐาน

WTP (Wireless Transaction Protocol)
WTP ทำงานบนบริการรับส่งข้อมูลเพื่อจัดเตรียมโปรโตคอลการติดต่อ(transaction-oriented)ขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับใช้บนไคลเอนต์ขนาดเล็กเช่น อุปกรณ์ไร้สาย WTP ทำงานบนเน็ตเวิร์คมีหน้าที่รับส่งข้อมูลไร้สายที่มีหรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการติดต่อต่าง ๆ

WTLS (Wireless Transport Layer Security)
WTLS คือโปรโตคอลรักษาความปลอดภัยที่มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอลมาตรฐาน TLS (Transport Layer Security) ที่เมื่อก่อนเรียกว่า SSL (Secure Sockets Layer)WTLS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ WAP เพื่อทำให้การส่งข้อมูลแบบสมบูรณ์ไม่มีความผิดพลาด หรือสูญหาย และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำให้ข้อมูลสามารถอ่านออกที่ต้นทางเท่านั้น นอกจากนี้ WTLS ยังมีระบบป้องกัน Denial of service หรือการถูกโจมตีจนต้องหยุดให้บริการซึ่งแฮกเกอร์ทั้งหลายชอบใช้โจมตีเว็บไซต์ต่างๆให้หยุดทำงาน ทำให้การจู่โจมกระทำได้ยากขึ้น ซึ่งแอพพลิเคชันสามารถเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ WTL ตามความต้องการ และเน็ตเวิร์คที่ใช้อยู่ อาจไม่จำเป็นต้องใช้ WTLS บนระบบเน็ตเวิร์คที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในชั้นการทำงานระดับล่างลงไปอยู่แล้ว

WDP (Wireless Datagram Protocol)
ชั้นรับส่งข้อมูลของ WAP เรียกว่า WDP ทำหน้าที่บริการสื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูลบนเน็ตเวิร์คชนิดต่าง ๆ WDP ทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชั้น การทำงานอยู่บนขึ้นไปและสื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล เช่น โทรศัพท์ระบบ GSM หรือ CDMA เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้


การสร้าง WAP Application

เครื่องมือพัฒนา Wap Application
การสร้าง Wap Application ต้องมีการใช้เครื่องในการพัฒนาจะประกอบไปด้วย 4 อย่างเป็นหลักคือ SDK ,WAP Application Designer, WAP Browser, Web Server ซึ่งจะสามารถทำให้เราทดสอบได้ว่า Application สามารถทำงานได้หรือไม่

SDK ผู้นำด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่และ ผู้ผลิตซอฟท์แวร์หลายราย เช่น Microsoft, Macromedia ได้เริ่มการพัฒนา ชุดเครื่องมือออกแบบ, จำลอง (Simulation) เพื่อใช้ในการพัฒนา WAP ให้สะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ Nokia Mobile internet Tool kid ,Satana ,WAPIDE เป็นต้น ช่วยให้การใช้งาน อินเตอร์เน็ตที่มีอยู่ สามารถ ปรับเข้ากับการใช้งาน ในสภาพแวดล้อมของการสื่อสารไร้สายได้ และยังช่วยให้ ผู้ให้บริการเครือข่าย, ผู้ให้บริการข้อมูล, ผู้พัฒนา โปรแกรมประยุกต์ใช้งาน, หรือผู้สนใจทั่วไป สามารถพัฒนา และทดสอบ การใช้งานจริง ของ WAP อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย

WAP Application Designer โดยการใช้ แอพพลิเคชัน ดีไซเนอร์ หรือ ออกแบบ โปรแกรมประยุกต์WAP ที่เป็นลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get) ซึ่งหมายถึง เมื่อคุณสร้าง แอพพลิเคชัน ใดๆ ขึ้นมา จะสามารถดู และทดสอบ ให้เห็นถึง การแสดงผล ตลอดจนการใช้งานจริง โดยใน แอพพลิเคชัน ดีไซเนอร์ ส่วนหนึ่งของโปรแกรม จะแสดงผล ของออกแบบ บนอุปกรณ์ WAPจำลอง ส่วนอีกด้านหนึ่ง จะแสดง Source Code เป็นภาษา WML Source ซึ่งท่านใช้ในการเขียน โดยท่านสามารถที่จะแก้ไข ปรับปรุง และตรวจสอบโปรแกรม ที่ท่านสร้างขึ้นมาได้ทันที ตัวอย่างของ WAP Application Designer เช่น Santana Builder for wap, Nokia Mobile internet Tool kid เป็นต้น

WAP Browser เครื่องมือในการดู โปรแกรมประยุกต์ หรือ บริการต่าง ๆ ของ WAP ที่มีการออกแบบ กันขึ้นมา โดย ดีไวซ์ ดีไซเนอร์ เพื่อทดสอบ การใช้งาน โดยผู้ออกแบบไม่จำเป็นจะต้อง ใช้โทรศัพท์มือถือจริงๆ ในการทดสอบ เพื่อสะดวก และประหยัด รวมถึงไม่ต้องเสียค่าบริการในการใช้สัญญา ในการทดสอบนั้น ๆ ตัวอย่างของ WAP Browserก็ได้แก่ Cc Wap Browse หรือจะใช้ Emulators ของ Nokia ที่ Support WAP

Server Tool เนื่องจากการเขียนภาษา WMLและ WMLScript เบื้องต้นก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่เพื่อการพัฒนาในการประมวลผลรวมกับฐานข้อมูลและยังเป็นการเพิ่มศักยภาพของ WAP Application ด้วย CGI/Perl ASP PHP ตัวอย่างของ Server Tool ได้แก่ PWS (Personal Web Server), IIS5.0(Internet Information),Apache Web Server เป็นต้น

ที่มา http://wiki.nectec.or.th/ru/IT630_2_2008Students/AmarinAodReport#องค์ประกอบของ%20WAP

ฟิสิกส์ไทย


เข้าสู่ บทเรียนคลิกที่นี้ ฟิสิกส์ไทย



ประกาศจาก webmaster


หลังจากเปิดเว็บมาเป็นเวลาหลายปี ผมก็ได้ทดลองรูปแบบของเว็บในหลายๆ อย่าง มีทั้งข้อดี และข้อเสีย และก็พบคำตอบในการปรับปรุง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.การเก็บเลเวล คงต้องทำการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ เนื่องจากรูปแบบเก่า เข้าใจยากและต้องใช้เวลาดูแลมากเกินไป โดยรูปแบบใหม่นั้นก็จะพยายามใช้คะแนนจากการโพสกระทู้ และการตอบกระทู้เป็นหลัก ซึ่งใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการอัพเลเวล

2.ทางเว็บจะเพิ่มโจทย์ฟิสิกส์ Entrance 10 กว่าปีย้อนหลัง ลงในเว็บบอร์ด แต่ละคนก็สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันได้เต็มที่

3.ตอนนี้ทางเว็บมีสมาชิกประมาณ 1000 พันคน เพราะฉะนั้นหากมีใครที่มีอะไรดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อคนส่วนมาก ทางเว็บเปิดพื้นที่ให้เสมอ

ปล.ผมจะเริ่มปรับปรุงให้เร็วที่สุดครับ