วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา


โรงเรียนบ้านโคกเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
ปีการศึกษา 2552
ชื่อ – สกุล ผู้เสนอนวัตกรรม : นายณัฐกิตติ์ ทุมภา
โรงเรียนบ้านโคกเมือง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
E-mail : toompa2320@gmail.com
-------------------------------------------------------------------------------------
1. ชื่อนวัตกรรม : รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. นวัตกรรมด้าน : การจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมสนองนโยบาย สพฐ. ด้าน
( / ) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ( ) ด้านคุณธรรมนำความรู้
(ระบุสาระ) สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา
( ) การบริหารจัดการสนับสนุนการขยายโอกาส ( ) การสร้างความเข้มแข็งแก่ สพท.
และ/หรือโรงเรียน
( ) การมีส่วนร่วมของ Steak holder ( ) การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่
พิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้
( ) อื่น ๆ ระบุ...........................................................................
3. ความเป็นนวัตกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อที่มีคุณลักษณะสำคัญที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ ซึ่งเกิดจาก บุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ ความรู้พื้นฐาน ความถนัดที่ต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนสามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะและเพิ่มเติมความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนของตนให้กับผู้อื่นได้ ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอบงในเวลา และสถานที่ซึ่งผู้เรียนสะดวก ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น (Motivated)ที่จะเรียนและสนุกสนานไปกับการเรียน ตามแนวคิดของการเรียนรู้ในปัจจุบันที่ว่า “Learning is fun” ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2542 : 9 - 12)การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) นั้น เป็นการนำเอาสื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในการเรียนการสอน เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะทำให้การเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์กันได้ในระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียน การสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปได้ทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงให้แก่ผู้เรียน ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ได้อาศัยแนวคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยการออกแบบโปรแกรมจะเริ่มต้นจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองโดยการออกแบบโปรแกรมจะเริ่มต้นจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป (กิดานันท์ มลิทอง. 2536 : 187)
หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2533) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เป็นกลุ่มที่ว่าด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของชีวิตและสังคม ฉะนั้น ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จัดให้ผู้เรียนจึงเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชีวิตของตนเองและสังคมให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น มวลประสบการณ์ดังกล่าวได้มาจากปัญหาของชีวิตจริง จากปัญหากลายมาเป็นสาระสำคัญของหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต อันประกอบด้วยประสบการณ์ที่ว่าด้วยกระบวนการแก้ปัญหาชีวิต และปวงชนและสังคม ดังจุดประสงค์ที่กล่าวถึงเรื่องของสุขภาพคือ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น การปฏิบัติตนให้ถูกต้อง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม จุดประสงค์อีประการหนึ่งคือ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานและมีความสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ กล่าวคือ ให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นและมีประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จึงมีเรื่องราว และเนื้อหาที่กว้างมาก และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มวิชานี้ การจัดสภาพการเรียนให้ผู้เรียนได้คิดได้แก้ปัญหา และได้เผชิญกับสถานการณ์จำลองอันจะประสบในชีวิตจริง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสงบสุขตามเอกัตภาพ
เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยที่ 1 เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ลักษณะของเนื้อหามีความเป็นรูปธรรม แต่ในการจัดการเรียนการสอนไม่สามารถที่จะนำของจริงมาให้นักเรียนดูได้ เนื้อหาจึงกลายเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องอาศัยการจินตนาการเข้าช่วย ซับซ้อน หรืออันตราบที่จะไปศึกษาในการใช้ของจริง การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นไปในลักษณะของการบรรยายเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจบทเรียนเท่าที่ควร ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูผู้สอน จึงยากแก่เด็กวัยปฐมศึกษาที่จะเข้าใจ เพราระดับการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กวัยประถมศึกษาตามทฤษฎีของเพียเจท์ (Piaget) อยู่ในขั้นที่ 3 คือ การคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม (สุนทร จันทรตรี. 2530 : 353 – 354) ดังนั้นการที่จะให้การเรียนการสอนก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้น ครูจะต้องหาวิธีการที่จะทำให้บทเรียนที่เป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้เหมาะกับนักเรียนวัยประถมศึกษา (สุนทร จันตรี 2528 : 5)
การจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์นั้น เป็นกระบวนการเรียนการสอนตามเอกัตบุคคลเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในเชิงสติปัญญา ทักษะ เจตคติ โดยเปลี่ยนจากครูเป็นศูนย์กลาง มาสู่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนการสอนและมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ใหม่ของการเรียนการสอน จากครูกับผู้เรียนเป็นสู้ผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับสื่อหรือคอมพิวเตอร์นั่นเอง ในด้านประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอนประโยชน์ต่อผู้เรียนคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียนทั้งในด้านเวลา สถานที่ เป็นลักษณะติวเตอร์ (Tutor) ส่วนตัวของผู้เรียนสามารถประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยอัตโนมัติ และผู้เรียนได้เรียนแบบการฝึกปฏิบัติ (Active Learning) มีการป้อนกลับทันที มีสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่าย ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น ส่วนประโยชน์ต่อผู้สอน คือ เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้ผู้สอนใช้กระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเน้อหาที่เข้าใจยาก ผู้สอนมีเวลามากขึ้นไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน และทำให้ผู้สอนปรับปรุงตัวเองให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นทันต่อการเปลี่ยนของเหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น (วสันต์ อติศัพท์. 2538 : 75 – 90)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถอธิบายเนื้อหาแสดงภาพประกอบ แสดงการเคลื่อนที่ของภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจ และได้เห็นถึงส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถที่จะให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองอย่างอิสระ และให้ผลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนรู้ของตนเอง ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เห็นก็คือ สามารถช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนได้โดยการออกแบบโปรแกรมให้มีภาพและเสียง และสามารถให้โต้ตอบกับผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว (อรพรรณ พรสีมา. 2530 : 88)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อการเรียนการสอนอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นต่อการนำไปใช้ที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ คือ สามารถนำไปใช้ช่วยครูสอน หรือสอนแทนครู ได้อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่อง นับตั้งแต่การส่งเสริมการรับรู้ การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลความก้าวหน้าจากการใช้ทบเรียน จากคุณสมบัติต่างๆ ของบทเรียนคอมพิวเตอร์และการใช้สถานการณ์จำลองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยคาดหวังว่า การจัดการเรียนการสอนจะสอดคล้องกับหลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความสนสนใจในทบเรียน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน ซึ่งจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ครูผู้สอนได้ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เรียนถึงแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
4.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรมไปใช้
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น
3. เพื่อศึกษาพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ที่ได้พัฒนาขึ้น

4.2 วิธีการ
การสร้างเครื่องมือในการศึกษา ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร แผนการสอน คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
1.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาแต่ละตอน ในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.3 กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อกำหนดวิธีเขียน และขั้นตอนการเรียน การวัด และการประเมินผลในเนื้อหาของแต่ละตอน
1.4 กำหนดเนื้อหาให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละข้อ
1.5 ออกแบบเนื้อหาและการสอนให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเสร็จแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และให้ข้อเสนอแนะ เสร็จแล้วนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไขในด้านการนำเสนอเนื้อหา
1.6 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบย่อย ตามวัตถุประสงค์การเรียน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การใช้ภาษา จากนั้นนำเนื้อหาไปเรียบเรียงลงในสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
1.7 นำสตอรี่บอร์ด (Storyboard) ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและเนื้อหา ด้านการวัดผล และด้านสื่อและโปรแกรมทำการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม
1.8 ปรับปรุงสตอรี่บอร์ด (Storyboard) ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ นำไปสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้โปรแกรม Author ware Version 7 และนำ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ด้าน ประเมินประสิทธิภาพเครื่องมือโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น จำนวน 15 ข้ออีกครั้ง เสร็จแล้วนำคำแนะนำมาปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนมีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.20- 5.00 และมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.67 มีระดับความเหมาะสมในระดับดีมาก
1.9 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและได้รับการแก้ไขปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน เพื่อหาประสิทธิภาพ โดยมีลำดับดังนี้
1.9.1 ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) ทดลองกับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกเมือง จำนวน 6 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ปานกลาง และสูง โดยกำหนดตามผลการเรียน เฉลี่ย 5 ภาคเรียน ซึ่งผลการเรียนต่ำ หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 ผลการเรียนปานกลาง หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย ระหว่าง 2.00-2.99 และผลการเรียนสูง หมายถึง นักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ซึ่งไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มาก่อนและไม่ใช่กลุ่มทดลอง ได้ทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้เวลา 8 คาบ ๆ ละ 50 นาที เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยวิธีสังเกตการณ์ของผู้ศึกษาค้นคว้า พบว่าส่วนที่ควรปรับปรุง มีดังนี้
1) บทเรียนมีคำแนะนำไม่ชัดเจน ทำให้นักเรียนบางคนไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไป จึงมีผลทำให้เสียเวลา จึงนำไปปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มคำแนะนำและเสียงบรรยายให้นักเรียนได้เข้าใจชัดเจนขึ้น
2) แบบทดสอบหลังเรียน เมื่อนักเรียนคลิกเลือกคำตอบแล้ว บทเรียนจะไปสู่ข้อต่อไปช้ามาก ทำให้เกิดความรำคาญไม่ทันใจ จึงปรับปรุงโดยการลดเวลาในการรอให้สั้นลง
1.9.2 ทดลองกลุ่มย่อย (Small Group Testing) นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกเมือง จำนวน 9 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ปานกลาง และสูง จำนวนเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่เคยเรียนเนื้อหาบทเรียนนี้มาก่อน เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปทดลองจริง ใช้เวลา 8 คาบ ๆ ละ 50 นาที พบว่า
1) เสียงบรรยายบางช่วงไม่ชัดเจน จึงแก้ไขโดยการอัดเสียงบรรยายใหม่
2) การฟังเสียงบรรยายบางเนื้อหาไม่เข้าใจอยากฟังอีกครั้ง จึงปรับปรุงโดยการเพิ่มปุ่มเลือกฟังเสียงบรรยายซ้ำ นักเรียนสามารถคลิกปุ่มเพื่อฟังได้ตามต้องการ
2. การสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ศึกษาเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ได้ดังนี้
1) อธิบายและบอกความสำคัญของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้
2) บอกชื่ออวัยวะภายในร่างกาย และหน้าที่ของอวัยวะภายในได้
3) ยกตัวอย่างการทำงานของร่างกาย ที่ทำให้เราเจริญเติบโตได้
4) บอกถึงพัฒนาการของร่างเรา ได้
5) อธิบายและบอกความหมายของวัยรุ่นได้
6) บอกถึงความจำเป็นในการรักษาดูแลฟันของเราได้

2.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา ความคิดรวบยอด และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในเนื้อเรื่องที่จะใช้สร้างแบบทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น